เพื่อป้องกันการตกผลึกของยูเรท และไปละลายผลึกยูเรทที่ตกตะกอนตามที่ต่างๆ ของร่างกายให้หายไปทีละน้อยๆ ดังนั้นยาลดกรดยูริคจึงควรกินติดต่อกันทุกๆ วันเป็นปีๆ หรือตลอดชีพ ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรคเก๊าท์ ยาลดกรดยูริคมี 2 พวก คือ
1) พวกที่ทำให้มีการขับยูริคออกทางไตมากขึ้น เหมาะสำหับผู้ที่ไตปกติและไม่มีนิ่วในไต ยาที่ใช้คือ โปรเบเนซิด (Probenecid) 1-2 เม็ดต่อวัน การจัดยาต้องอาศัยตรวจระดับกรดยูริค ว่าต่ำลงมาอยู่ในขั้นน่าพอใจหรือไม่ ผู้ที่กินยาชนิดนี้ควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 1.5-2 ลิตร/วัน เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วกรดยูริคในไต ยานี้มีราคาถูกกว่าและปลอดภัยกว่ายากลุ่ม 2 แต่ห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคไตวายหรือมีนิ่วในไต
2) พวกที่ตัดการสร้างของกรดยูริคในร่างกาย ได้แก่ แอบโลพูรินอล (Allopurinol) 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน ยาตัวนี้มีอันตรายคือ เกิดตับอักเสบได้ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรงถึงขั้นผิวหนังเป็นผื่น, พุพอง, แดงลอกหมดทั่วตัว ซึ่งมีอัตราตายสูงมาก วิธีป้องกันคือ หากกินยาแล้วรู้สึกมีอาการคันตามตัวโดยยังไม่มีผื่น หรือเริ่มมีผื่นแดง แต่ไม่รุนแรงต้องหยุดยาทันที มิฉะนั้นจะแพ้ยารุนแรงขึ้นจนเกิดภาวะดังกล่าวได้ ซึ่งแม้รับการรักษาในโรงพยาบาลก็อาจแก้ไขไม่ทัน
เมื่ออาศัยยาทำให้ลดกรดยูริคลงมาในระดับปกติแล้ว ผลึกยูเรทที่คั่งตามที่ต่างๆ จะละลายหายไป ตุ่มก้อนที่ขึ้นใต้ผิวหนังหรือตามข้อก็จะยุบหายไปในที่สุด และข้อดีก็คือผู้ป่วยจะมีอิสรเสรีในการกินอาหารพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ฯลฯ หรืออาหารทุกชนิดได้เหมือนคนธรรมดาทุกประการ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโรคเก๊าท์ ได้ที่ http://www.delicate-care.com/article/23